ศักย์ไฟฟ้า


ศักย์ไฟฟ้า

สื่อการเรียนการสอน (ภาษาอังกฤษ)

การจำแนกสาร


รูปภาพ

ให้นักเรียนจำแนกสารต่อไปนี้

น้ำแข็ง  ข้าวเปลอก  มะม่วง  น้ำส้มคั่น  น้ำเชื่อม  ผงถ่าน  ดินประสิว  ไนโตเจน  แสงแดด  น้ำฝน  ลูกเห็บ  น้ำปูนใส  แอลกอฮอล์  สำลี  เกลือแกง  ควันธูป  ถ่าน  คาร์บอนไดออกไซด์  ปูนขาว  ออกซิเจน  อากาศ  ไฮโดรเจน  เก้าอี้  แชมพูสระผม  สบู่ก้อน

การนำเสนองานวิจัยวิทยาศาสตร์โลกทั้งระบบ ระดับโรงเรียน ครั้งที่ 3


ESS_presentaion

ก้าวต่อไปครูไทย Social Media พาก้าวไป สู่ก้าวใหม่ของการศึกษาไทยในยุคไทยที่ก้าวหน้า


“ก้าวใหม่ของครูไทย  ก้าวไปด้วย Social Media”  ถ้ากล่าวถึง  Social Media  ณ  วันนี้  ข้าพเจ้าตอบได้และมั่นใจว่า  Social Media คืออะไร  ใช้อย่างไร  เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนหรือไม่  อย่างไร  และครูไทยยุคใหม่จำเป็นหรือไม่ที่ต้องใช้  Social Media ให้เป็น

ข้าพเจ้า  ดีใจมากที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรและส่งเสริมการใช้ Social Media ในการจัดการเรียนรู้ ตอนที่ส่งใบสมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการก็มีความคาดหวังว่าจะได้รับการคัดเลือกจากสำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน แต่เครื่องมือที่ทางสำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนให้กรอกในใบสมัครนั้น  เป็นเครื่องมือที่ไม่เคยใช้เลย  ข้าพเจ้าก็สุ่มสมัคร โดยเลือกสมัคร Twitter และ  Facebook  ก่อน เพราะ มันคุ้นหูกว่าตัวอื่นๆ  ส่วนเครื่องมืออื่นๆก็มาทำการสมัครอีกครั้งหลังจากที่ผ่านการคัดเลือกรอบแรก  ซึ่งทาง สทร. ให้ทุกคนที่ผ่านการคัดเลือกกรอก url  ของตนเอง  และเป็นครั้งแรกที่ดิฉันได้ใช้ google doc เมื่อได้รับการอบรมการใช้เครื่องมือต่างๆจากทีมงานวิทยากรที่มีประสบการณ์ ถึงแม้ว่าจะมิใช่วิทยากรในสายการศึกษา  แต่ก็ไม่ได้ทำให้ผิดหวัง ทันบ้าง ไม่ทันบ้าง ครู SMEdu  ก็ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และชื่นชมเป็นพิเศษ  คือ  คุณเก่ง  เจ้าของ  เก่งดอทคอม  ผู้ให้ความรู้ในเรื่องของการทำ  Blog  จาก  WordPress  เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้แบบครูมืออาชีพที่น่าเอาเป็นแบบอย่าง  นอกจากนั้นยังได้รับความรู้ในการใช้เครื่องมืออื่นๆอีก  คือ  Twitter  ซึ่งกลับจากการอบรม  สิ่งแรกที่ท่านผู้อำนวยการถามว่า Social Media คืออะไร  ใช่ที่อดีตนายกเมืองไทยคนหนึ่งใช้ประจำใช่หรือไม่??  Twitter  ได้ใช้แล้วรู้สึกว่ามันเป็นเครื่องมือในการสื่อสารที่รวดเร็ว  กระชับ  ทันที  ทุกที่  ทุกเวลา  ความรู้จากการใช้  Youtube  ,  SlideShere  ,  Scribd  ,  Flickr  และ  Facebook  เป็นสิ่งใหม่ที่น่าเรียนรู้

ในช่วงของการอบรมคิดตามตลอดว่าเราจะนำมาใช้ในการเรียนการสอนได้อย่างไร  จะทำได้ตามวัตถุประสงค์ของโครงการได้หรือไม่  ทำข้อตกลงร่วมกัน  MOU  ทำไม่ได้แล้วจะส่งผลถึงใครบ้าง  ปัญหาน่าจะมีแน่ๆๆ  เป็นกังวลมาก  เพราะ  เราสอนวิชาฟิสิกส์  ธรรมชาติวิชาต้องมีการคำนวณ  แก้โจทย์ปัญหา  ซึ่งให้นักเรียนสืบค้น  เรียนรู้เอง  คงไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับนักเรียน  เราไม่ใช่ครูคอมพิวเตอร์  เราจะให้นักเรียนได้ใช้สื่อพวกนี้ได้อย่างไร  ตารางการใช้ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ก็แน่น  มีชั่วโมงว่างบ้าง  ตารางสอนวิชาของเราก็ไม่ตรงกัน  ให้นักเรียนไปใช้นอกเวลาเรียน  นักเรียนก็ต้องเข้าร้านอินเตอร์เน็ต  ผู้ปกครองของนักเรียนจะว่าอย่างไร  สทร.ให้ไปขยายผลต่อแล้วจะไปขยายผลอย่างไร  ที่ไหน  เพาเวอร์ของเราคงไม่ถึงแน่นอน

เมื่อกลับจากการอบรมได้นำมาใช้กับกิจกรรมการเรียนการสอนในชั้นเรียน  โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนโต  คือ  ม.ปลาย  ในรายวิชาฟิสิกส์  และชุมนุมวิทยาศาสตร์  เพราะนักเรียนสามารถสืบค้นได้เอง  และได้ใช้เครื่องมือที่ได้รับจากการอบรมมาใช้กับกลุ่มนักเรียนชุมนุม  จำนวน  15  คน  เครื่องมือที่สอนตัวแรก คือ  Twitter  พบปัญหาคือ  ความเร็วของอินเตอร์เน็ตที่โรงเรียน  และนักเรียนใช้แล้วไม่ค่อยใช้ต่อ  น่าจะเป็นเพราะเป็นการสื่อสารสั้นๆ แล้วพวกเขาก็ไม่รู้ว่าจะสื่อสารอะไร  Facebook  เป็นเครื่องมือที่นักเรียนใช้มากจนถึง  ณ  วันนี้  จากจำนวนแค่ 15  คน  ตอนนี้กลายเป็นสังคมที่มีขนาดใหญ่และกว้างขวางไปเรื่อยๆ  ทั้งในโรงเรียน  ศิษย์เก่าที่อยู่ต่างที่กัน  ต่างจังหวัด  หรือแม้แต่ต่างประเทศ  และที่ข้าพเจ้าดีใจเป็นอย่างมากเลย  ถึงแม้จะไม่ได้ขยายผลอย่างเป็นทางการ  แต่ Social Media  ก็ขยายวงกว้างใน

โรงเรียนเกือบ 100%  ทั้งผู้บริหาร  ครู  และนักเรียนทุกระดับชั้น  ถึงแม้ว่าบางครั้งในการใช้จะไม่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน  แต่การทำกิจกรรมหรือการสื่อสารของกลุ่มสังคมออนไลน์ที่เกิดขึ้นก็อยู่ในสายตา  ดังนั้น  ข้าพเจ้าจึงเลือกใช้เครื่องมือต่างๆที่ได้จากการอบรม  คือ  Youtube  ,  SlideShere  ,  Scribd  ,  Flickr   แล้วนำไปแชร์ไว้ที่  Facebook  เมื่อครูท่านอื่นๆพบแล้วสนใจ  ก็เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน  อีกทั้ง  ผู้บริหารเห็นความสำคัญ  มีการส่งเสริมและให้กำลังใจตามจังหวะและโอกาส  ทำให้ความกังวลที่เกิดขึ้นลดน้อยลงและมีความมั่นใจในการใช้  Social Media มากขึ้น

ท้ายนี้  ข้าพเจ้าขอขอบคุณ สำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน  ที่ให้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ  ขอบคุณวิทยากรที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้  Social Media  ขอบคุณครู SMEdu  ที่แชร์และแบ่งปันข้อมูลผ่าน  Social Media  “ก้าวต่อไปครูไทย  Social Media พาก้าวไป สู่ก้าวใหม่ของการศึกษาไทยในยุคไทยที่ก้าวหน้า”

ใบงานและแบบฝึกหัดสำหรับนักเรียนชั้น ม. 1 ในช่วงที่ครูไปราชการ 13-16 ธ.ค. 53


ให้นักเรียนศึกษาบรรยากาศที่ปกคลุมผิวโลก  ในประเด็น ดังนี้

1. ความหมายและองคืประกอบของบรรยากาศ

2. การแบ่งชั้นบรรยากาศ

3. ความสำคัญของบรรยากาศและอากาศ

แล้วให้นักเรียนทำกิจกรรม ดังนี้

1. เขียนแผนภาพไดอะแกรม (The Venn Diagram) แสดงองคืประกอบที่เหมือนกันและต่างกันของอากาศชื้นและอากาศแห้ง  ดังนี้  คลิกทำใบงาน

2. ให้นักเรียนเขียนแผนภาพแสดงความสัมพันธ์ระหว่างความสูง และคุณสมบัติด้านต่างๆของชั้นบรรยากาศแต่ละชั้น  คลิกดูตัวอย่างผลงาน  คลิกทำใบงาน

3.  ให้นักเรียนวิเคราะห์และอธิบายผลที่เกิดขึ้น  ถ้าไม่มีอากาศตามหัวข้อที่กำหนดให้  คลิกทำใบงาน

***นักเรียนที่มีความพร้อมให้ส่งงานทาง e-mail ของครู yupawon@hotmail.com หรือส่งงานทาง Facebook หรือให้นักเรียนรับใบงานจากครูผู้สอนแทน แล้วส่งใบงานที่โต๊ะครูยุพวรรณ  ตรีรัตน์วิชชา ก็ได้นะคะ

ผลการเรียนวิชาที่เรียนกับครูยุพวรรณ ตรีรัตน์วิชชา


คลิกเข้าดูผลการเรียน

ม.6
ม.4

เทคนิคเรียนเก่ง 7 ข้อ


ข้อที่ 1 : พกปากกาสี 12 สี ติดตัว
ทฤษฎีสี กล่าวไว้ ว่า สีจะสามารถเพิ่มการจดจำเนื้อหาต่าง ๆ ได้มากกว่า สีน้ำเงินที่เขียนตามปกติ
จึงควรซื้อปากกาสีต่าง ๆ ติดตัวไว้ เวลาอ่านหนังสือก็ใช้ปากกาสีในการจดเนื้อหา ของ stabio ก็ดีนะ ทนหลายปีเลยแหล่ะ
* สำหรับคนที่กลัวว่าจะจดไม่ทันก็ใช้วิธีจดเฉพาะเนื้อหาสำคัญพร้อมกับบันทึกเสียงไปพร้อม ๆ กัน แค่นี้ก้อสามารถจดจำได้แล้วล่ะ

ข้อที 2 : ใช้สมุด note ที่ไม่มีเส้น
การใช้สมุดnote ที่มีลายเส้นนั้นเหมือนเราอยู่แต่ในกรอบเส้นนั้น แต่ถ้าใช้สมุดnote ที่ไม่มีเส้นนั้นจะ
ทำให้เราไม่มีกรอบในการเขียน เราอยากเขียนอะไรก็อยากเขียนได้ทั้งนั้น ปัจจุบันหาซื้อยาก ต้องลองหาแถว ร้านขายสมุดวาดรูปดูน่ะ

ข้อที่ 3 : บันทึกงานออกมาในรูป Mind Map Or Pic.
ถ้าเราอ่านหนังสือการ์ตูนตั้งแต่ 2 ปีที่แล้ว กับอ่านหนังสือ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เราจะสามารถจดจำ
การ์ตูนได้มากกว่า เวลาจดเนื้อหาบางอย่างอาจจะจดในรูปแบบ Pic. จะสามารถจดจำได้มากกว่า
การบันทึกงานในรูปแบบของ mind Map จะเป็นการแบ่งเรื่องหัวข้อใหญ่ต่าง ๆ เพื่อใช้ในการอ่าน อาจใช้ mind map เป็นรูปก็ได้

ข้อที่ 4 : Mp3
เราควรจะมี mp3 เพื่อใช้ในการบันทักเสียงเวลาที่คุณครูสอนแต่ไม่สามารถฟังและเก็บเกี่ยวเนื้อหาได้ครบทุกอย่าง
หากเราอัดไว้ก็จะสามารถย้อนกลับไปฟังได้ หลาย ๆ ครั้ง ก่อนสอบ

ข้อที่ 5 : เอาใจครู อ่านเพิ่มเติม

รวมเด็ด…ขั้นเทพ..เรียนดี…เรียนเก่ง (1)


1. อ่านหนังสือตอนเช้าๆ จะช่วยในการจดจำได้เยอะเพราะว่าตอนเช้าสมองของเราปลอดโปร่ง ถ้าเทียบกับตอนเย็น หรือตอนดึกๆ เนื่องจากสมองของเราผ่านอะไรมามากมายแล้ว สู้รบปรบมือกันมาทั้งวัน
2. รู้มั้ยว่า การยืนอ่านหนังสือ อ่านเพิ่มเติม

ปรากฏการณ์ทางแสง ดวงอาทิตย์ 3 ดวง …Sun Dog…


อ่านเพิ่มเติม

เทคนิคการเรียนฟิสิกส์