วิชาฟิสิกส์ 5


การจัดหน่วยการเรียนรู้ รายวิชาฟิสิกส์ ว40205 

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553

 1. หน่วยการเรียนรู้ที่ 1  ไฟฟ้าสถิต

สาระที่ 4                แรงและการเคลื่อนที่

มาตรฐาน ว 4.2   เข้าใจลักษณะการเคลื่อนที่แบบต่างๆของวัตถุในธรรมชาติ มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น ม.4-6 สำรวจตรวจสอบและอธิบายได้ว่าเมื่อนำวัตถุบางชนิดที่ผ่านการถูมาแล้วเข้าใกล้กันจะดูดหรือผลักกันได้และวัตถุแต่ละอันจะดูดวัตถุเบาๆได้

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

                    สำรวจตรวจสอบ อภิปราย เกี่ยวกับหลักการเกิดไฟฟ้าสถิต ประจุไฟฟ้า ตัวนำและฉนวน การเหนี่ยวนำประจุไฟฟ้า

มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น ม.4-6 สำรวจตรวจสอบ วิเคราะห์และอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างแรงการเคลื่อนที่ของอนุภาคหรือวัตถุในสนามโน้มถ่วง สนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้า รวมทั้งการนำไปใช้ประโยชน์

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

                1. สืบค้นข้อมูล สำรวจตรวจสอบและอภิปรายเกี่ยวกับแรงระหว่างประจุและกฎของคูลอมบ์
                2. สืบค้นข้อมูล สำรวจตรวจสอบและอภิปรายเกี่ยวกับสนามไฟฟ้า เส้นแรงไฟฟ้า ศักย์ไฟฟ้า ตัวเก็บประจุและความจุไฟฟ้าตลอดจนการนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน

  1. ไฟฟ้าสถิต
  2. ให้นักเรียนศึกษาเกี่ยวกับไฟฟ้าสถิต จาก http://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2365 แล้วตอบคำถาม  โดยบันทึกคำตอบได้ที่ลงความเห็นด้านล่าง หรือ ส่งคำตอบไปที่   คำถามมีดังนี้

คำถามชวนคิด
1. นักเรียนพบปรากฏการณ์อะไรบ้างที่เกิดจากไฟฟ้าสถิตในชีวิตประจำวัน
2. ทำอย่างไรเราจึงจะลดการเกิดไฟฟ้าสถิตได้
3. นักเรียนมีวิธีการทำทดสอบอย่างไรว่าเกิดไฟฟ้าสถิตขึ้น

แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม

ไฟฟ้าสถิต  

ไฟฟ้าสถิต (ฟิสิกส์ราชมงคล)แบบทดสอบ
ไฟฟ้าสถิต  (ฟิสิกส์ราชมงคล)

แบบทดสอบ ไฟฟ้าสถิต  (ครูจงกล  บัวสิงห์)
แบบทดสอบ ไฟฟ้าสถิต  (วิชาการดอทคอม)  

คลิบวีดีโอ ไฟฟ้าสถิต (ครูพิสฏฐ์  วัฒนผดุงศักดิ์)

คลิบวีดีโอ ไฟฟ้าสถิต (ครูพิสฏฐ์  วัฒนผดุงศักดิ์) ชุดที่ 2

คลิบวีดีโอ ไฟฟ้าสถิต (ครูพิสฏฐ์  วัฒนผดุงศักดิ์) ชุดที่ 3

คลิบวีดีโอ ไฟฟ้าสถิต (ครูพิสฏฐ์  วัฒนผดุงศักดิ์) ชุดที่ 4

คลิบวีดีโอ ไฟฟ้าสถิต (ครูพิสฏฐ์  วัฒนผดุงศักดิ์) ชุดที่ 5

คลิบวีดีโอ ไฟฟ้าสถิต (ครูพิสฏฐ์  วัฒนผดุงศักดิ์) ชุดที่ 6

คลิบวีดีโอ ไฟฟ้าสถิต (ครูพิสฏฐ์  วัฒนผดุงศักดิ์) ชุดที่ 7

คลิบวีดีโอ ไฟฟ้าสถิต (ครูพิสฏฐ์  วัฒนผดุงศักดิ์) ชุดที่ 8

คลิบวีดีโอ ไฟฟ้าสถิต (ครูพิสฏฐ์  วัฒนผดุงศักดิ์) ชุดที่ 9

คลิบวีดีโอ ไฟฟ้าสถิต (ครูพิสฏฐ์  วัฒนผดุงศักดิ์) ชุดที่ 10

2. หน่วยการเรียนรู้ที่ 2  ไฟฟ้ากระแส

สาระที่ 5                พลังงาน

มาตรฐาน ว 5.1   เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิต การเปลี่ยนแปลงพลังงาน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารและพลังงาน ผลของการใช้พลังงานต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น ม.4-6 ทดลองและอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างความต่างศักย์ไฟฟ้า ความต้านทานและคำนวณหาปริมาณที่เกี่ยวข้อง

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

                1. สำรวจตรวจสอบ อภิปราย เกี่ยวกับแหล่งกำเนิดไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า  ความต่างศักย์ไฟฟ้า กฎของโอห์มและคำนวณปริมาณที่เกี่ยวข้อง
               2. สืบค้นข้อมูลและอภิปรายเกี่ยวกับสภาพต้านทานและสภาพนำไฟฟ้า ผลของอุณหภูมิที่มีผลต่อความต้านทาน
               3. สืบค้นข้อมูล สำรวจตรวจสอบและอภิปรายเกี่ยวกับการต่อตัวต้านทาน การต่อเซลล์ไฟฟ้าและคำนวณปริมาณที่เกี่ยวข้อง
               4. สืบค้นข้อมูล และอภิปรายเกี่ยวกับหลักการสร้างแอมมิเตอร์ โวลต์มิเตอร์และโอห์มมิเตอร์และคำนวณ ปริมาณที่เกี่ยวข้อง

 มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น ม.4-6 สืบค้นข้อมูลและคำนวณหาพลังงานไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เปรียบเทียบและเลือกใช้ไฟฟ้าได้อย่างเหมาะสม

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

               สำรวจตรวจสอบ อภิปรายและคำนวณเกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้าและกำลังไฟฟ้า 

มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น ม.4-6 สืบค้นข้อมูลและอธิบายหลักการต่อวงจรไฟฟ้าในบ้านการออกแบบและติดตั้งอย่างถูกต้องปลอดภัยและเหมาะสม รวมทั้งการนำไปใช้ประโยชน์

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

                สำรวจตรวจสอบ และอธิบายวิธีการต่อวงจรไฟฟ้าในบ้าน หลักการทำงานของเครื่องใช้ไฟฟ้า

2. ไฟฟ้ากระแส

3. หน่วยการเรียนรู้ที่ 3  ไฟฟ้าและแม่เหล็ก

สาระที่ 5                พลังงาน

มาตรฐาน ว 5.1   เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิต การเปลี่ยนแปลงพลังงาน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารและพลังงาน ผลของการใช้พลังงานต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้  สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น ม.4-6 สำรวจตรวจสอบและอธิบายได้ว่ากระแสไฟฟ้าในวงจรทำให้เกิดสภาพแม่เหล็กและนำไปใช้ประโยชน์ได้

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

                1. สำรวจตรวจสอบและอภิปรายเกี่ยวกับแม่เหล็กและสนามแม่เหล็กที่เกิดจากกระแสไฟฟ้าผ่านลวดตัวนำ
                2. สืบค้นข้อมูล อภิปรายเกี่ยวกับแกลวานอมิเตอร์ มอเตอร์กระแสตรง กระแสเหนี่ยวนำและหม้อแปลง ตลอดจนการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น ม.4-6 สำรวจตรวจสอบ วิเคราะห์และอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างแรง การเคลื่อนที่ของอนุภาคหรือวัตถุในสนามโน้มถ่วง สนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้า รวมทั้งการนำไปใช้ประโยชน์

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

                1. สืบค้นข้อมูลและอภิปรายเกี่ยวกับแรงที่กระทำต่ออนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า ซึ่งเคลื่อนที่ในบริเวณที่มีสนามแม่เหล็ก
                2. สืบค้นข้อมูลและอภิปรายเกี่ยวกับแรงที่กระทำต่อลวดตัวนำที่มีกระแสไฟฟ้าผ่าน เมื่ออยู่ในบริเวณที่มีสนามแม่เหล็ก
                3. สืบค้นข้อมูลและอภิปรายเกี่ยวกับแรงระหว่างลวดตัวนำสองเส้นที่มีกระแสไฟฟ้าและขนานกัน
                4. สืบค้นข้อมูลและอภิปรายเกี่ยวกับแรงที่กระทำต่อขดลวดที่อยู่ในบริเวณที่มีสนามแม่เหล็ก

42 Responses

  1. คำถามชวนคิด
    1. นักเรียนพบปรากฏการณ์อะไรบ้างที่เกิดจากไฟฟ้าสถิตในชีวิตประจำวัน
    2. ทำอย่างไรเราจึงจะลดการเกิดไฟฟ้าสถิตได้
    3. นักเรียนมีวิธีการทำทดสอบอย่างไรว่าเกิดไฟฟ้าสถิตขึ้น

    ให้นักเรียนระบุ ชื่อ ชั้น เลขที่มาด้วย

    • ตัวอย่างการส่งคำตอบ
      1. ……………………………………………..
      2. ……………………………………………..
      3. ……………………………………………..
      ชื่อ นางสาวยุวะรี ใจใหญ่ ม. 6/1 เลขที่ 27

  2. 1. นักเรียนพบปรากฏการณ์อะไรบ้างที่เกิดจากไฟฟ้าสถิตในชีวิตประจำวัน
    เราจะสามารถสังเกตเห็นปรากฎการณ์เกี่ยวกับไฟฟ้าสถิตย์ได้เมื่อเกิดปรากฎการณ์แบบใหญ่ๆ (Macroscopic) เช่นฟ้าแลบ, ฟ้าฝ่า เป็นต้น แต่จริงๆแล้ว ไฟฟ้าสถิตย์นั้นอาจจะเกิดขึ้นได้อยู่ตลอดเวลาในระบบเล็กๆ (Microscopic) ด้วย ตัวอย่างเช่นเสื้อผ้าที่ยับลู่ติดตัว, การเกิดฝุ่นหนาเกาะจับตามหน้าจอของเครื่องรับโทรทัศน์, การเกิดไฟฟ้าดูดเมื่อเราจับโลหะบางประเภทเช่นลูกบิดประตู สัตว์เลี้ยง หรือแม้แต่วัสดุอื่น นอกจากนี้ยังอาจจะเห็นได้จากการที่พลาสติกสำหรับห่อของยังถูกแรงดูดติดอยู่กับวัสดุที่มันห่อหุ้มอยู่
    2. ทำอย่างไรเราจึงจะลดการเกิดไฟฟ้าสถิตได้
    1.ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิคส์/เครื่องมืออิเล็คทรอนิคส์
    ให้ต่อไฟฟ้าสถิต เท่าที่เป็นไปได้
    2.ลดหรือขจัดเหตุในการเกิดไฟฟ้าสถิต มีหลายปัจจัยที่ต้องพิจารณา เช่น
    -พื้น / วัสดปูพื้น
    – ความชื้นของอากาศในห้อง
    – เก้าอี้
    – รองเท้า
    – ชุดที่สวมใส่
    – วิธีทำความสะอาด
    3.สลายไฟฟ้าสถิตที่เกิดขึ้น
    วิธีการนี้คือการต่อสายดิน (Grounding) เป็นการถ่ายเทประจุไฟฟ้าที่เกิดขึ้นให้มีศักดิ์เป็นศูนย์ (0) เท่ากับพื้นดิน เราสามารถหลีกเลี่ยงปัญหาเรื่องไฟฟ้าสถิตได้โดยการให้พนักงานในสายการผลิตใช้ สายรัดข้อมือ (WristStrap)การใช้กระเบื้องยางปูพื้นชนิด StataicDissipative PVC หรือStatic Conductive PVC นักเรียนมีวิธีการทำทดสอบอย่างไรว่าเกิดไฟฟ้าสถิตขึ้น

    3. นักเรียนมีวิธีการทำทดสอบอย่างไรว่าเกิดไฟฟ้าสถิตขึ้น
    เครื่องตรวจประจุไฟฟ้า (อิเล็คโทรสโคป)

  3. 1.ตอบ
    เครื่องถ่ายเอกสาร,เครื่องprint,เครื่องพิมพ์เสเซอร์,เครื่องสแกนลายนิ้วมือ,เครื่องพ่นสี,

  4. 1.ตอบ
    เครื่องถ่ายเอกสาร,เครื่องprint,เครื่องพิมพ์เลเซอร์,เครื่องสแกนลายนิ้วมือ,เครื่องพ่นสี,ไมโครโฟนแบบตัวเก็บประจุ,เครื่องกำจัดฝุ่น
    ในอากาศ
    2.ตอบ
    ติดไว้ก่อนนะคร๊าบ

    3.ตอบ
    การที่ปริมาณประจุไฟฟ้าขั้วบวกและขั้วลบ บนผิววัสดุมีไม่เท่ากันทำให้เกิดแรงดึงดูดเมื่อวัตถุทั้ง 2 ชิ้นมีประจุต่างชนิดกัน
    หรือเกิดแรงผลักกันเมื่อวัสดุทั้ง 2 ชิ้นมีประจุชนิดเดียวกัน เราสามารถสร้างไฟฟ้าสถิตโดยการนำผิวสัมผัสของวัสดุ 2
    ชิ้นมาขัดสีกัน พลังงานที่เกิดจากการขัดสีกันทำให้ประจุไฟฟ้าบนผิววัสดุจะเกิดการแลกเปลี่ยนกัน
    โดยจะเกิดกับวัสดุประเภทที่ไม่นำไฟฟ้า หรือที่เรียกว่า ฉนวน ตัวอย่างเช่น ยาง, พลาสติก และแก้ว
    สำหรับวัสดุประเภทที่นำไฟฟ้านั้นโอกาสเกิดปรากฏการณ์ประจุไฟฟ้าบนผิววัสดุไม่เท่ากันนั้นยากแต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้
    เช่น กรณีที่ผิวโลหะถูกกระแทกด้วยของแข็งหรือของเหลวที่ไม่เป็นตัวนำ ประจุที่เกิดการเคลื่อนย้ายระหว่างการสัมผัส
    จะถูกเก็บบนผิวของวัสดุทั้ง 2 ชิ้น

  5. พงษ์พัฒน์ เหลือคำตอบข้อ 2 นะคะ ครูจะรอคำตอบจากนักเรียนทุกคน

  6. 2.ตอบ
    ลดการเสียดสีของวัตถุ

  7. 1. ตอบ แอร์ เครื่องถ่ายเอกสาน เสื้อไนล่อนหรือถุงน่อง เครื่องปริ้นเตอร์
    2.ตอบ ลดการเสีดสีของวัตถุโดยการไนสิ่งของที่ทำให้เกิดไฟฟ้าสถิตมาใกล้กัน
    3ตอบ เมื่อนำวัตถุสองชนิดมาถูกันจเกิดการแลกเปลี่ยนอิเล็กตรอน วัสดุบางชนิดจะให้อิเล็กตรอน บางชนิดจะรับอิเล็กตรอนได้ดี ตัวอย่างเช่น เมื่อนำลูกโป่งถูกับเส้นผมโมเลกุลของลูกโป่งจะดึงอิเล็กตรอนจากโมเลกุลของเส้นผมเมื่อนำลูกโป่งไปวางบนกำแพงลูกโป่งสามารถลอยติดกับกำแพงได้

    ชื่อ นางสาวเขมิกา จันทร์แรม ม.6/1 เลขที่ 6

  8. 1. นักเรียนพบปรากฏการณ์อะไรบ้างที่เกิดจากไฟฟ้าสถิตในชีวิตประจำวัน
    – ไฟฟ้าสถิตที่ปรากฏให้เห็นอยู่บ่อยก็คือการเกิดของฟ้าผ่า ฟ้าแลบ เป็นต้น
    และพบในเครื่องใช้ต่างๆ เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องกำจัดฝุ่นในอากาศ เครื่องพ่นสี ไมโครโฟนแบบตัวเก็บประจุ ฯลฯ
    ส่วนในทางการแพทย์ก็อย่างเช่น ชุดประดิษฐ์เส้นใยนาโน เป็นต้น

    2. ทำอย่างไรเราจึงจะลดการเกิดไฟฟ้าสถิตได้
    – 1. ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิคส์/เครื่องมืออิเล็คทรอนิคส์ ให้ต่อไฟฟ้าสถิต เท่าที่เป็นไปได้
    2. ลดหรือขจัดเหตุในการเกิดไฟฟ้าสถิต มีหลายปัจจัยที่ต้องพิจารณา เช่น
    -พื้น / วัสดปูพื้น
    – ความชื้นของอากาศในห้อง
    – เก้าอี้
    – รองเท้า
    – ชุดที่สวมใส่
    – วิธีทำความสะอาด
    3.สลายไฟฟ้าสถิตที่เกิดขึ้น
    วิธีการนี้คือการต่อสายดิน (Grounding) เป็นการถ่ายเทประจุไฟฟ้าที่เกิดขึ้นให้มีศักดิ์เป็นศูนย์ (0) เท่ากับพื้นดิน เราสามารถหลีกเลี่ยงปัญหาเรื่องไฟฟ้าสถิตได้โดยการให้พนักงานในสายการผลิตใช้ สายรัดข้อมือ (WristStrap)การใช้กระเบื้องยางปูพื้นชนิด StataicDissipative PVC หรือStatic Conductive PVC

    3. นักเรียนมีวิธีการทำทดสอบอย่างไรว่าเกิดไฟฟ้าสถิตขึ้น
    – ก็อย่างเช่นการนำลูกโป่งไปถูกับผ้าสักราด

    • เป็นเนื้อหาที่เกี่ยวกับการเหนี่ยวนำประจุไฟฟ้าที่ครบถ้วนดีมาก มีรูปภาพประกอบ ทำความเข้าใจมากๆนะคะ…แล้วจะทดสอบความเข้าใจอีกครั้งในสัปดาห์หน้าคะ

    • การทดสอบที่ทำได้ง่ายๆ แต่เต็มไปด้วยความรู้

    • ลองทดสอบดูนะคะ…แต่จะเห็นผลชัดเจน ถ้าเส้นผมมีสถาพที่แห้ง ไม่มัน

  9. การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ สามารถทดแทนพลังงานอื่นได้ และพลังงานแสงอาทิตย์ไม่มีวันหมดไป

    • นำไปสาธิตและอธิบายให้น้องๆระดับประถมให้เข้าใจเกี่ยวกับแรงแม่เหล็กได้ดีเลยทีเดียวคะ

    • เป็นเว็บเพจที่เหมาะสมกับระดับชั้น ทำความเข้าใจเพิ่มเติมนะคะ…ปรึกษาครูได้นอกเวลา

  10. http://physics601083839.multiply.com/journal


  11. การสาธิตกฎการอนุรักษ์ประจุไฟฟ้า

  12. การนำความรู้เกี่ยวกับไฟฟ้าสถิตไปใช้ประโยชน์
    ปัจจุบันมีการผลิตเครื่องใช้ที่อำนวยประโยชน์ด้านต่าง ๆ โดยอาศัยความรู้เรื่องไฟฟ้าสถิตดังตัวอย่างต่อไปนี้

    เครื่องถ่ายเอกสาร

    เครื่องถ่ายเอกสารเป็นอุปกรณ์ถ่ายสำเนาสิ่งพิมพ์ตัวอักษรหรือภาพลายเส้นจากต้นฉบับ ส่วนประกอบและหลักการทำงานแต่ละขั้นตอนแสดงดังรูป 32

    หลักการให้แสงส่องไปที่ต้นฉบับสะท้อนผ่านเลนส์ไปกระทบแผ่นฟิล์ม ซึ่งฉาบด้วยวัสดุตัวนำที่ขึ้นกับแสง (จะมีสมบัติเป็นตัวนำเมื่อถูกแสง) โดยเมื่อเครื่องเริ่มทำงาน แผ่นฟิล์มนี้จะถูกทำให้มีประจุไฟฟ้าบวกทั่วทั้งแผ่นก่อนดังรูป 2ก จากนั้นจึงให้แสงส่องไปที่ต้นฉบับสะท้อนผ่านเลนส์กระทบแผ่นฟิล์มบริเวณที่เป็นที่ว่าง บนต้นฉบับจะให้แสงออกมากระทบแผ่นฟิล์ม ให้บริเวณที่ถูกแสงกลายเป็นตัวนำ จึงมีสภาพเป็นกลางทางไฟฟ้า ส่วนตัวอักษรหรือภาพลายเส้นบนต้นฉบับที่เป็นสีดำ (หรือสีเข้ม ๆ) ดูดกลืนแสง จึงไม่ให้แสงสะท้อนมากระทบแผ่นฟิล์มบริเวณนั้นบนแผ่นฟิล์มจึงไม่ถูกแสง ยังคงมีประจุบวกอยู่ดังรูป 32ข เมื่อพ่นผงหมึกที่มีประจุลบไปบนแผ่นฟิล์มนี้ ผงหมึกจะเกาะติดเฉพาะบริเวณที่มีประจุ บวกนี้เท่านั้น ซึ่งเป็นบริเวณที่เกิดจากตัวอักษรหรือภาพลายเส้นดังรูป 32ค

    ทำให้ปรากฏเป็นภาพของต้นฉบับบนแผ่นฟิล์ม เมื่อกดแผ่นกระดาษประจุบวกลงแผ่นฟิล์มที่มีผงหมึกดังกล่าว จึงได้ภาพสำเนาปรากฏบนแผ่นกระดาษดังรูป 32ง เมื่ออบแผ่นกระดาษด้วยความร้อน เพื่อให้ผงหมึกติดแน่นก็จะได้ภาพสำเนาที่ติดทนถาวรชัดเจน

    เครื่องกำจัดฝุ่นในอากาศ

    เครื่องกำจัดฝุ่นในอากาศเป็นอุปกรณ์กำจัดอนุภาคจากแก๊สเผาไหม้ หรืออากาศร้อนที่สกปรก ประกอบด้วยท่อโลหะที่มีแกนกลางยึดติดด้วยฉนวน ดังรูป 33

    หลักการใช้ความต่างศักย์สูงจากแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรง โดยต่อขั้วลบเข้ากับแกนกลาง และต่อขั้วบวกเข้ากับท่อ ทำให้เกิดสนามไฟฟ้าที่มีค่าสูงมากพอที่จะทำให้อนุภาคในอากาศสกปรกที่ผ่านไปในท่อ ได้รับอิเล็กตรอนจากแกนกลางจนกลายเป็นอนุภาคประจุลบและถูดดูดเข้าไปติดที่ท่อพร้อม ๆกับท่อถูกทำให้สั่นเป็นจังหวะ อนุภาคที่สะสมบนท่อจึงร่วงหล่นลงบนส่วนล่างของท่อและถูกปล่อยออก แก๊สหรืออากาศที่ผ่านออกทางตอนบนของท่อจึงเป็นก๊าซหรืออากาศสะอาด

    เครื่องพ่นสี

    เครื่องพ่นสีใช้หลักการทำให้ผงหรือละอองสีกลายเป็นอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า ขณะถูกพ่นออกจากเครื่องพ่น ซึ่งผงหรืละอองสีที่มีประจุไฟฟ้าเกิดแรงดึงดูดกับชิ้นงาน ทำให้เกาะติดชิ้นงานได้ดีกว่าการพ่นแบบธรรมดา อุปกรณ์ที่ใช้พ่นละอองสี ดังรูป 34

    ในกรณีที่ชิ้นงานเป็นโลหะ อาจจะทำให้ผิวโลหะมีประจุไฟฟ้าตรงข้ามกับผงสี โดยต่อชิ้นงานกับแหล่งกำเนิดที่มีความต่างศักย์สูง ๆ จะช่วยเพิ่มแรงดูด ทำให้ผงหรือละอองสียึดเคลือบผิวชิ้นงานดียิ่งขึ้น และช่วยให้ประหยัดผงสี เนื่องจากไม่ฟุ้งกระจาย

    ไมโครโฟนแบบตัวเก็บประจุ

    หลักการทำงานของไมโครโฟนแบบตัวเก็บประจุ คือ ประกอบด้วยแผ่นโลหะ 2 แผ่นที่ขนานกัน แผ่นหนึ่งทำหน้าที่เป็นไดอะแกรมรับคลื่นเสียง ส่วนแผ่นที่สองยึดติดกับฐาน โดยแผ่นที่รับคลื่นเสียงจะบางมาก เมื่อมีคลื่นเสียงกระทบ มันจะสั่นตามความถี่และกำลังของคลื่น ผลจากการสั่นของแผ่นบางนี้ จะทำให้ความจุไฟฟ้าเปลี่ยนแปลง เมื่อต่อไมโครโฟนแบบตัวเก็บประจุนี้อนุกรมกับตัวต้านทาน ดังรูป 35

    ความต่างศักย์คร่อมไมโครโฟนแบบตัวเก็บประจุจะเปลี่ยนแปลงตามความถี่ของคลื่นเสียง เป็นผลให้เกิด

    สัญญาณไฟฟ้า

    จากหลักการที่กล่าวมาแล้ว เราสามารถนำไมโครโฟนแบบตัวเก็บประจุนี้ไปใช้งานด้านเสียง ไม่ว่าจะเป็นเสียงดนตรี เสียงร้องเพลง เสียงพูด ฯลฯ โดยให้เสียงที่ชัดเจน จึงนิยมใช้ไมโครโฟนแบบตัวเก็บประจุกันทั่วไป ไมโครโฟนประเภทนี้มี 2 แบบ คือ แบบใช้งานในสถานีจะมีราคาแพงมากกับแบบที่ใช้ในงานวิทยุเทปกระเป๋าหิ้ว ซึ่งมีราคาถูกมาก หลักการทำงานจะเป็นเช่นเดียวกัน แต่จะแตกต่างในรายละเอียดของการสร้าง

  13. http://www.obeclms.com/lesson/14_Electrostatic/lesson.html

  14. http://physic6010214.multiply.com/journal/item/26/26

ส่งความเห็นที่ ฐิติชญาณ์ บุญมา ยกเลิกการตอบ